http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html
ได้รวบรวมองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ ไว้ดังนี้ องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้
1. ผู้สอน
เป็นผู้ที่มีความสำคัญในการที่จะแปลมาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่เป็นตัวหนังสือให้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม
น่าสนใจ และมีกระบวนการเรียนรู้หลากหลายวิธีอย่างอิสระ
จะต้องรู้จักเลือกปรับปรุงเทคนิคและวิธีการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้
ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียนโดยไม่ใช้วิธีการเดียว
ควรมีการดัดแปลงและเลือกใช้วิธีการให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาในแต่ละเรื่อง
เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
2. ผู้เรียน
เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้
ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งบุคลิกภาพ สติปัญญา ความถนัด
ความสนใจและความสมบูรณ์ของร่างกาย ผู้เรียนควรมีโอกาสร่วมคิด
ร่วมวางแผนในการจัดการเรียนการสอน และมีโอกาสเลือกวิธีเรียนได้อย่างหลากหลาย
ตามความเหมาะสมภายใต้การแนะนำของผู้สอน
3. เนื้อหาวิชาต่างๆ
ซึ่งผู้สอนจะต้องจัดเนื้อหาวิชาให้มีความสัมพันธ์กัน มีความน่าสนใจ เหมาะสมกับวัย
ระดับชั้น รวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมของการจัดการเรียนรู้
4. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ ได้แก่
อุปกรณ์ช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5. สภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้
ผู้สอนต้องมีวิธีการที่จะจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางวิชาการ
เช่น จัดห้องชวนคิด ห้องกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จัดระบบนิเวศจำลอง
จัดบริเวณโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ทางชีววิทยา ธรณีวิทยา ฯลฯ
มีการดัดแปลงห้องเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ดี
และจัดกิจกรรมที่เอื้อให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย
http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit1/level1-1.html
ได้รวบรวมองค์ประกอบพื้นฐานของกระบวนการเรียนการสอน ไว้ดังนี้ การสอนเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุดของการจัดการศึกษา
เพราะเป็นการนำหลักสูตรไปใช้ปฏิบัติให้เกิดผลตามที่มุ่งหวังไว้
คุณภาพของการศึกษาจะดีหรือไม่เพียงใดนั้นย่อมเป็นผลโดยตรงจากการสอนเป็นประการสำคัญ
ดังนั้นในการสอนแต่ละครั้งไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาวิชาใดก็ตาม ควรจะมีองค์ประกอบพื้นฐานของกระบวนการเรียนการสอนดังนี้
1. จุดมุ่งหมายการสอน
ก่อนจะเริ่มต้นสอนครูผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตร
แล้วกำหนดจุดมุ่งหมายของการสอนให้ชัดเจนว่า หลังจากสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้ว
ครูผู้สอนประสงค์จะให้นักเรียนเรียนรู้อะไรบ้าง และมีความสามารถทำอะไรได้บ้าง
จุดมุ่งหมายในการสอนควรกำหนดให้อยู่ในรูปของจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม(Behavioral Objectives) ซึ่งสามารถสังเกตได้และวัดได้
2. พฤติกรรมพื้นฐานของผู้เรียน ก่อนที่ครูจะทำการสอนในเรื่องใด หากครูได้ทราบสภาพพื้นฐานของผู้เรียนก่อน
ก็จะทำให้สามารถจัดกิจกรรมในการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่
3. การเรียนการสอน เป็นขั้นตอนที่ครูจะทำการสอนในเนื้อหาวิชาจริง
ๆ ครูผู้สอนอาจเลือกใช้เทคนิควิธีสอนต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับวัย และสภาพพื้นฐานของผู้เรียน โดยคำนึงถึงลักษณะของเนื้อหาวิชาด้วยว่า จะแบ่งเนื้อหาวิชาเป็นหน่วยย่อยได้อย่างไร หน่วยย่อยใดควรสอนก่อนหรือหลัง และเนื้อหาในแต่ละหน่วยย่อยนั้นจะใช้อุปกรณ์ชนิดใดเข้าช่วย
4. การวัดและประเมินผล
เป็นการตรวจสอบผลการเรียนการสอนเพื่อจะได้ทราบว่าภายหลังจากผ่านการเรียนการสอนแล้ว
ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ดีขึ้นเพียงไร
อยู่ในเกณฑ์น่าพอใจหรือไม่โดยเทียบกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนที่ครูกำหนดไว้ก่อนการเรียนการสอน
http://kmlibrary.bu.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=29:2011-02-24-03-06-59&catid=13:2010-12-22-04-02-34 ได้รวบรวมองค์ประกอบในการจัดการความรู้ ไว้ดังนี้ ในการจัดการความรู้โดยทั่วไปมีองค์ประกอบที่สำคัญ
3 ส่วนคือ คน (man) เทคโนโลยีสารสนเทศ
(information technology-IT) และกระบวนการจัดการความรู้ (process)
1. คน (man)
ในการจัดการความรู้
คนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด
เนื่องจากคนเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ส่วนบุคคล (personal
knowledge management-PKM) คือ
ผู้ซึ่งต้องการจัดการความรู้เพื่อการใช้ประโยชน์กับตัวเอง
จึงสามารถจัดการทุกอย่างทุกขึ้นตอนได้เองเป็นส่วนใหญ่
อาจจะมีบ้างที่ต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่น
บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดการความรู้หรือ KM
Team ขององค์กรอาจแบ่งได้เป็น 2 ทีมคือ
ทีมหลักหรือทีมถาวร (core team or permanent team) และทีมชั่วคราว
(contemporary team)
ทีมหลักหรือทีมถาวรเป็นคณะทำงานที่รับผิดชอบการดำเนินการจัดการความรู้ขององค์กรอย่างต่อเนื่อง
ประกอบด้วยบุคลากร 3 ฝ่าย ได้แก่ หัวหน้างาน หรือผู้จัดการความรู้ (knowledge
champion or senior manager or chief knowledge management-CKO) เป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กร
ซึ่งมีบทบาทในการขุดหา (leverage) ความรู้ภายในองค์กรออกมาโดยการใช้โครงการการจัดการความรู้
รับผิดชอบในการสร้างวิสัยทัศน์ในสิ่งที่เป็นไปได้ ออกแบบกรอบงานที่ให้ผลคุ้มค่า
และ เป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) ประสานงานและการจัดให้มีกิจกรรมการจัดการความรู้ทั้งหมดขององค์กร
บุคลากรประเภทที่สอง ได้แก่ หัวหน้างาน (Chief Information Officer- CIO) เป็นผู้รับผิดชอบงานทั้งหมดขององค์กร และ ฝ่ายสุดท้ายของทีมหลักคือ
ตัวแทนจากกลุ่มงานหลักขององค์กร
ส่วนทีมชั่วคราว
เป็นคณะกรรมการที่มาจากกลุ่มเฉพาะ (Tiwanna, 2002, p.206) องค์กรต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า
บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ขององค์กร คือ
กลุ่มผู้ใช้ผลผลิตและบริการขององค์กร
จึงควรให้บุคคลเหล่านั้นมาเป็นหุ้นส่วนและร่วมกันวางแผนงานให้กับองค์กร (Rumizen,
2002, p.67)
นอกจากทีมงานทั้งสองทีมแล้ว บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนโครงการจัดการความรู้ขององค์กรอย่างมากคือ
ผู้บริหารสูงสุด (Chief Executive Officer-CEO) โดยปกติจะอยู่ในตำแหน่งที่ปรึกษาโครงการจัดการความรู้
2. เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information
Technology-IT)
ในเรื่องของการจัดการความรู้นั้นมีงานวิจัยเป็นจำนวนมากที่พยายามอธิบายความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้
ดังที่ปรากฎว่าเป็นเรื่องราวจำนวนมากที่แสดงถึงการจัดการความรู้ขององค์กรผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
แม้ว่ากระบวนการจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่ไม่ใช้เทคโนโลยี แต่เทคโนโลยีก็เป็นที่ถูกคาดหมายว่าเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้การจัดการความรู้ประสพความสำเร็จ
องค์กรส่วนใหญ่จึงมีการจัดสรรงบประมาณในการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสม
มาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการความรู้ขององค์กร (สมชาย นำประเสริฐกุล,
2546, p.105)
เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการจัดการความรู้ประกอบด้วยเทคโนโลยีในการสื่อสาร
(Communication Technology), เทคโนโลยีการทำงานร่วมกัน (Collaboration
Technology) และเทคโนโลยีในการจัดเก็บ (Storage Technology)
- เทคโนโลยีในการสื่อสาร ช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ต่าง
ๆ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เชียวชาญสาขาต่าง ๆ
ในการค้นหาข้อมูล สารสนเทศผ่านเครือข่ายได้ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต
หรือโซเชียลมีเดีย (Social Media
- เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วมกัน
ช่วยให้สามารถประสานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรคเรื่องของระยะทาง
ตัวอย่างเช่นโปรแกรมกลุ่ม groupware หรือระบบ video
conference เป็นต้น
- เทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บ
ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่าง ๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนช่วยประสาน
สนับสนุนและอำนวยความสะดวกกระบวนการจัดการความรู้ ทั้ง 3 ดังนี้
-การแสวงหาความรู้
เป็นการแสวงหาความรู้ทั้งที่เป็นการหยั่งรู้เอง (Tacit Knowledge) ทักษะ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ผู้มีประสบการณ์สูง
จะมองเห็นแนวโน้มหรือหรือทิศทางความต้องการใช้ความรู้ด้านต่าง ๆ
แล้ววางแผนและดำเนินการที่จะจัดหาความรู้นั้น ๆ มา
โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทต่าง ๆ เป็นเครื่องช่วยประสานและอำนวยความสะดวก
-การแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้
เป็นการเผยแพร่และกระจายความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ในการนี้ การเรียนรู้จากผู้เชียวชาญจะช่วยให้ผู้ดำเนินการจัดการความรู้มือใหม่ผ่านเครือข่ายการสื่อสารในรูปแบบต่าง
ๆ
-การใช้ประโยชน์จากความรู้
การเรียนรู้จะบูรณาการอยู่ในองค์กร มีอะไรอยู่ในองค์กร
สมาชิกองค์กรสามารถรับรู้และประยุกต์ใช้สถานการณ์ใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา
ทั้งการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ และการใช้ประโยชน์ความรู้
จะเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันทั้งการแสวงหาความรู้
อย่างไรก็ตาม ในความหมายของ IT ไมได้หมายถึงเพียงแค่อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หรือซอฟท์แวร์เพียง เท่านั้น
แต่ในปัจจุบันได้หมายรวมถึงความสำคัญของคน
เป้าหมายที่คนวางหรือกำหนดในการใช้เทคโนโลยีนั้น ๆ
คุณค่าในการเลือกใช้เทคโนโลยีตลอดจนเกณฑ์ในการประเมินที่ใช้ในการตัดสินใจในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในงานต่าง
ๆ (Chartrand & Morentz อ้างถึง Zorkoczy, 1984,
p.12)
3. กระบวนการจัดการความรู้ (Process)
กระบวนการจัดการความรู้ เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาของความรู้
หรือการจัดการ ความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน
-การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) เป็นการพิจารณาว่าองค์กรเรามีพันธกิจ วิสัยทัศน์ เป้าหมายอะไร
และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง
อยู่ในรูปแบบใด และอยู่ที่ใคร
- การสร้างและการแสวงหาความรู้ (Knowledge
Creation & Acquisition) เช่นการสร้างความรู้ใหม่
แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว
-การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge
Organization) เป็นการวางโครงสร้างความรู้
เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
-การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge
Codification & Refinement) เช่นการปรับปรุงเอกสารให้เป็นรูปแบบมาตรฐาน
ใช้ภาษาในการสื่อสารเป็นภาษาเดียวกัน ประปรุงเนื้อหาความรู้ให้สมบูรณ์
- การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Dissemination
& Access) เป็นการทำให้ผู้ใช้เข้าถึงความรู้อย่างเป็นระบบได้ง่ายและสะดวกขึ้น
การกระจายความรู้ให้ผู้อื่นทางช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม
-การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge
Sharing) เป็นการนำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนกันด้วยกลยุทธ์ต่าง ๆ
เช่น ในกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจทำเป็นเอกสาร
ฐานความรู้ คลังความรู้ หรือในกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน
กิจกรรมกลุ่ม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ และระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นต้น
-การเรียนรู้และการนำไปใช้งาน (Learning &
Utilization) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการการจัดการความรู้
เป็นการที่บุคคลเกิดการเรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน และหมุนเวียนไปอย่างต่อเนื่อง
สรุป
องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้
1.ผู้สอน
2.ผู้เรียน
3.เนื้อหาวิชาต่างๆ
4.สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
5.สภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้
องค์ประกอบพื้นฐานของกระบวนการเรียนการสอน
1. จุดมุ่งหมายการสอน
2. พฤติกรรมพื้นฐานของผู้เรียน
3. การเรียนการสอน
4. การวัดและประเมินผล
องค์ประกอบในการจัดการความรู้ในการจัดการความรู้โดยทั่วไปมีองค์ประกอบที่สำคัญ
3 ส่วนคือ คน (man) เทคโนโลยีสารสนเทศ
(information technology-IT) และกระบวนการจัดการความรู้ (process)
ที่มา
http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html
.องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้.เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2558.
http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit1/level1-1.html
.องค์ประกอบพื้นฐานของกระบวนการเรียนการสอน.เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2558.
http://kmlibrary.bu.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=29:2011-02-24-03-06-59&catid=13:2010-12-22-04-02-34
.องค์ประกอบในการจัดการความรู้.20 สิงหาคม 2558.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น